ประวัติหลวงพ่อพลับ วัดระโนด
เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2414 (วันพุธ เดือน 3 ปีมะแม) ณ หมู่บ้านสามบ่อ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา[1]
พ.ศ. 2435 อายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดสนธิ์ ตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยมี พระอุปัชฌายะเสน วัดสนธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักพระอุปัชฌาย์ วัดสนธิ์ 4 ปี
พ.ศ. 2439 อายุ 25 ปี ได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเขาพังไกร ( ปัจจุบัน วัดคีรีอัศจรรย์ ) ได้ดำเนินการผูกพัทธสีมา จนแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2444 อายุ 31 ปี ได้เข้าขอเปลี่ยนนิกายเดิม สู่ ธรรมยุตินิกาย โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์ (เนียม ธมฺมปาโล) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช วัดชลเฉียน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชขณะนั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ฐิติกโร
พ.ศ. 2445 ได้รับมอบหมายจากพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ให้ไปช่วยปกครองดูแลกิจการทางพระศาสนา ณ วัดโตนด เมืองหลังสวน ช่วงที่ เจ้าคณะจังหวัดไปเปลี่ยนนิกายที่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2446 ย้ายไปอยู่ที่วัดเกษตรชลธี (วัดตะเครียะ) อำเภอระโนด ซึ่งเป็นวัดชาติภูมิของท่าน และเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในอำเภอนี้
พ.ศ. 2460 ออกเดินทางธุดงค์ไปสู่จังหวัดสงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช ไปพักอยู่ที่บนภูเขา พอสมควร ท่านออกเดินทางธุดงค์เรื่อยไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปพักอยู่ในเขตป่าช้าวัดธรรมบูชาในสมัยที่พระครูโยคาธิการวินิต (ทอง) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน และได้อยู่จำพรรษาด้วยกันที่วัดธรรมบูชาเป็นเวลา 5 ปี ต่อมาในปี
พ.ศ. 2465 ทางการคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพง (ปัจจุบันคือวัดกาญจนาราม) อำเภอกาญจนดิษฐ์ ซึ่งเป็นวัดตั้งอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ และว่างเจ้าอาวาสมานาน ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากทางข้าราชการ และทางคณะสงฆ์ โดยมีพระเถระผู้ใหญ่จากกรุงเทพมหานครมาร่วมด้วย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุตนี้ด้วย เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกาญจนารามแล้วได้พัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถาน เป็นสำนักออค้า บรมกรรมฐานมีพระภิกษุ สามเณร ข้าราชการ ทายกทายิกา เข้าวัดมากขึ้น ทำให้วัดกาญจนารามเป็นวัดที่มีหลักฐานมั่นคงมาถึงปัจจุบัน [2]
พ.ศ. 2467 นางพยอม สารสิน ได้ริเริ่มประเพณีการทอดผ้าป่าออกพรรษา โดยการแนะนำของ ” พระธรรมวิโรจน์เถระ” ซึ่งท่านได้แนะนำวิธีทำและพรรณนาอานิสงส์ให้ฟัง นางพยอม จึงชักชวนคนที่รู้จัก คุ้นเคยกันและมีจิตศรัทธาทั้งหลายตั้งพุ่มผ้าป่าที่หน้าบ้านของตน ทำต่อมาจนกระทั่งมีคนศรัทธา เห็นดีเห็นงามและร่วมตั้งพุ่มผ้าป่ากันมากขึ้น [3]
พ.ศ. 2468 พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร และคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้สร้างวัดสามแก้วขึ้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (ขณะนั้นจังหวัดชุมพร-สุราษฎร์ธานี ขึ้นอยู่กับการปกครองของเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช) ยังขาดผู้บริหารที่มีความสามารถไปเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะมณฑลฯ ได้พิจารณาเห็นว่า พระธรรมวิโรจนเถร (ขณะนั้นเป็น พระอุปัชฌาย์พลับ ฐิติกโร) เป็นผู้มีความสามารถ จึงได้นิมนต์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสามแก้ว
พ.ศ. 2470 ย้ายจากวัดกาญจนาราม ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ได้พัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถานเช่นเดียวกับเคยจัดที่วัดกาญจนาราม จนทำให้มีพระภิกษุ สามเณร ทายกทายิกา ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เลื่อมใสเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากทางการคณะสงฆ์ให้เป็น พระคณาจารย์โท ในทางแสดงธรรมเทศนา
พ.ศ. 2472 วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง จังหวัดสงขลา ว่างเจ้าอาวาสลงเนื่องจาก พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติลาออกจาก เจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสงขลา เพื่อกลับไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครตามเดิม ทางการปกครองคณะสงฆ์จึงมีคำสั่งให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสงขลาเนื่องจากท่านเป็นชาวสงขลา และประกอบกับมีความสามารถด้านบริหาร เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ปกครองตลอดมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสงขลา ก็ให้พัฒนาวัดมัชฌิมาวาส ให้เจริญรุ่งเรื่องขึ้นทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ในฝ่ายคณะสงฆ์ก็ปกครองร่วมกันทั้งสองนิกาย ได้รับความร่วมมือในการบริหารคณะสงฆ์จากบรรดาเจ้าอาวาสและเจ้าคณะปกครองทุกชั้น ช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ในที่สุดท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศาสนภารพินิจ สังฆวาหะ
พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2477 พระครูศาสนาภารพินิจ (พลับ) เป็นเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสรูปนี้มาจากวัดสามแก้ว ช่วงนี้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) เป็นสมุหเทสาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้เป็นประธานทำการบูรณปฏิสังขรณ์รณ์พระวิหาร มีหลวงพินิจทัณฑการ หลวงประธานราษฎร์นิกร เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง เปลี่ยนเครื่องไม้ใหม่ทั้งหมด เอาฝาประจันห้องหน้าพระประธานออก และก่ออิฐระหว่างโค้งเสาระเบียง ขึ้นตั้งกรอบหน้าต่างติดลูกกรงเหล็ก และมีประตูปิดดังปรากฏอยู่ในบัดนี้ ในการบูรณะวิหารครั้งนี้ พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เจ้าอาวสาวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช-ภูเก็ต ให้ไวยาวัจกร อนุโมทนา 6000 บาท สมทบทุนบริจาคและพระครูศาสนาภารพินิจ ได้ร่วมกับพุทธมามาะกะ รื้อกุฎิแถวคณะตะวันออกด้านใต้ที่เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) สร้างไว้ ทำขึ้นใหม่เป็นกุฎิแถวฝาไม้กระดาน เช่นเดี่ยวกับทางด้านเหนือ ซึ่งสมเด็จฯ อุปราชปักษ์ใต้ทรงเป็นประธานปฏิสังขรณ์ก่อนแล้ว และได้เอาไม้เก่าๆจากกุฎินี้สร้างโรงเลี้ยงหลังยาวด้านตะวันออกวิหารพร้อมโรงสูทธรรม ซึ่งนางเหี้ยง เฑียนสุนทร สร้างถวาย ( บัดนี้รื้อหมดแล้ว)[4]
พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสงขลา มาบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีและพระบรมวงศานุวงส์ ข้าราชบริพาร ที่วิหารวัดมัชฌิมาวาส
พ.ศ. 2477 ท่านได้ขอลาออกจากเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง และเจ้าคณะจังหวัดสงขลา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้บริหารบ้าง ท่านไม่ยึดติดกับตำแหน่งและสถานที่ กลับไปอยู่วัดกาญจนาราม และวัดธรรมบูชา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามเดิมจนถึง
พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2484 จำพรรษา ณ วัดกาญจนาราม เปิดเป็นสำนักธรรมปฏิบัติขึ้นในบริเวณป่าช้าข้างวัดกาญจนาราม อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีภิกษุอาวุโสเข้าศึกษาธรรมปฏิบัติมากรูปและปลูกกุฎิเล็กๆ โดยทั่วไปในบริเวณนั้น และท่านก็ได้พักอยู่กุฎิเล็กเหมือนกับนักศึกษาธรรมปฏิบัติทั้งหลาย
พ.ศ. 2485-2486 จำพรรษา ณ วัดบุปผาราม และ วัดราชาธิวาสราชวรวิหารกรุงเทพมหานคร เพื่อรักษาอาการป่วย จนหายปกติและเดินทางกลับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2487 จำพรรษา ณ กุฎิพิเศษในบริเวรป่าช้าวัดธรรมบูชา
พ.ศ. 2487 เริ่มก็สร้างวัดสารวนาราม ( วัดท่าเพชร)
พ.ศ. 2490 ได้จัดการปลงศพ พระครูโยคาธิการวินิต (ทอง) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา เรียบร้อยแล้ว
พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชาและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวัดธรรมบูชาได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ต่อมาท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะยก ฝ่ายวิปัสสนา ที่พระธรรมวิโรจนเถร นับเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา พระอารามหลวง รูปแรก
พ.ศ. 2492 เริ่มก็สร้างวัดโมกขธรรมราม (วัดดอนเกลี้ยง)