ประวัติ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

ประวัติหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร

ท่านชื่อพิธ นามสกุล ขมินทกูล เกิดที่บ้านบางเพียร หมู่ที่ ๔ ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคมพ.ศ. ๒๔๑๘ ตรงกับวันอังคารแรม ๕ คํ่าเดือน ๔ ปีกุน หลวงพ่อพิธ เป็นบุตรของขุนหิรัญสมบัติ(ประดิษฐ์ ขมินทกูล) มารดาชื่อปุย หลวงพ่อพิธ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต
เดียวกัน ๓ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๒ คน คือ
๑. นายพิธ ขมินทกูล
๒. นางไพ
๓. นางพับ
หลวงพ่ออุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐อายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมาวัดบึงตะโกนอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงค์(เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วหลวงพ่อได้ไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ เพื่อศึกษาหาความรู้จะได้
นำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า เท่าที่สอบถามพระอธิการทานขมินทกูล เจ้าอาวาสวัดฆะมังและนายปุย ขมินทกูล(น้องชายต่างมารดาของหลวงพ่อพิธ) เล่าว่าหลวงพ่อได้ไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ ดังนี้
๑. วัดใหญ่ วัดหลวงพ่อพุทธชินราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
๒. วัดบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
๓. วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดอยู่ในตลาดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
๔. วัดหัวดง ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรโดยเฉพาะวัดหัวดงนี้หลวงพ่อจำพรรษาอยู่นานที่สุด
๕. วัดวังปราบ จังหวัดนครสวรรค์วัดนี้หลวงพ่อได้ฝึกวิชารักษาฝีในท้องกับพระอาจารย์สิน
๖. วัดบางคลาน อำเภอโพทะเล เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน และได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อเงินตลอดจนความรู้ต่างๆ จนเป็นที่แตกฉานจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดฆะมังบ้านเกิดเมืองนอนของท่านนอกจากหลวงพ่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนจากเกจิอาจารย์ต่างๆ แล้วหลวงพ่อยังได้เล่าเรียนวิชาความรู้เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาจากปู่ของท่านอีกด้วย นับว่าหลวงพ่อเป็นผู้เสาะแสงหาความรู้อย่างแท้จริงหลวงพ่อเป็นพระที่มักน้อย ถือสันโดษ และไม่ยอมสะสมเงินทองจึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อบำรุงพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบต่อไป หลวงพ่อจึงได้สร้างอุโบสถถึง ๕ หลัง คือ
๑. วัดฆะมัง
๒. วัดดงป่าคำใต้ (วัดใหม่คำวัน)
๓. วัดบึงตะโกน
๔. วัดสามขา
๕. วัดหัวดง
หลวงพ่อมรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดฆะมัง อำเภอเมืองพิจิตรรวมอายุได้ ๗๐ ปี จาการมรณภาพของหลวงพ่อ ทำความโศกเศร้าเสียใจให้แก่บรรดาญาติมิตรและศิษย์อย่างสุดซึ้งทั้งนี้เนื่องจากหลวงพ่อเป็นพระที่ถือสันโดษเคร่งครัดในธรรมวินัย ไม่ยอมสะสมเงินทองและมีเมตตาธรรมนั่นเอง
#ประวัติการหล่อรูปหลวงพ่อพิธ
หลังจากหลวงพ่อมรณภาพแล้ว บรรดาศิษย์ยานุศิษย์และญาติพี่น้องต่างก็คิดปรึกษาหารือกันว่าในขณะที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่นั้นได้เคยทำคุณงามความดีตลอดจนเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเงิน และมีวัตถุมงคลดียอดเยี่ยมปรากฏแก่ประชาชนโดยทั่วไป ถ้าไม่ทำอะไรไว้เป็นหลักฐานกาลต่อไปประชาชนอาจจะลืมได้จึงตกลงกันว่าควรจะหล่อรูปเท่าตัวจริงของหลวงพ่อไว้ เมื่อตกลงกันแล้วหลวงประจักษ์ หลานชายของหลวงพ่อ จึงเป็นผู้ดำเนินการหล่อโดยช่างที่กรุงเทพฯ ครั้นหลวงประจักษ์ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย จึงส่งรูปหล่อมาวัดฆะมัง นายปุย ขมินทกูล น้องชายหลวงพ่อพิธเล่าว่ารูปหล่อของหลวงพ่อมาพักที่ตลาดบางมูลนาก บ้านหมอแดง(นายแพทย์พยุง กลันทะพันธ์)
ในขณะนั้นยังรับราชการอยู่ที่สถานีอนามัยอำเภอบางมูลนาก และมีคุณยายชุม พฤกษะวัน ได้จัดฉลองรูปหล่อให้หลังจากนั้นได้นำรูปหล่อของหลวงพ่อ ออกจากตลาดบางมูลนากโดยเรือสุโขทัย ขึ้นมาทางเหนือมาหยุดที่ตลาดบางไผ่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนนมัสการได้เงินทำบุญมา ๓๐๐ บาท ต่อจากนั้นก็ออกเดินทางต่อจากตลาดบางไผ่ โดยเรือลำเดียวกันเมื่อได้มาถึงตะพานหินก็หยุดให้ประชาชนนมัสการอีกได้เงินทำบุญ ๓๐๐ บาท และเมื่อมาถึงตลาดหัวดงก็หยุดให้ประชาชนนมัสการอีก หลังจากนั้นก็นำมาไว้ที่วัดฆะมัง ตราบเท่าทุกวันนี้
#ของดีหลวงพ่อพิธ
ในขณะที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไม่กี่อย่าง จากคำยืนยันของพระอธิการทานขมินทกูล ซึ่งเป็นหลานของหลวงพ่อ ขณะนั้นอายุ ๖๑ ปี และนายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดาของหลวงพ่อยืนยันว่าในขณะที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ได้สร้างวัตถุมงคล ดังนี้
๑. ตะกรุดมหารูด
๒. ขี้ผึ้ง
๓.รูปถ่ายหลวงพ่อพิธ ได้จัดทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อเงินพระอาจารย์ของท่าน ปิดด้วยกระจกทั้ง ๒ ด้าน รูปถ่ายนี้จัดทำ ๒ รุ่น รุ่นแรกเล็ก รุ่นสองใหญ่กว่า
วัตถุมงคลหลังจากหลวงพ่อมรณภาพแล้ว
๑. เหรียญใบเสมาพ.ศ. ๒๔๘๘รุ่นแรกสร้างขึ้นในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ และได้มีการสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นมาอีกหลายครั้งแต่คนละพิมพ์ และหลังจากมรณภาพแล้วจึงได้จัดทำขึ้นมาอีก ๒ รุ่น
๒. เหรียญใบมะยมสร้าง๓แห่งคือ
– วัดหัวดง
– วัดดงป่าคำ
– วัดหนองลากฆ้อน รุ่นสุดท้าย
อภินิหารหลวงพ่อพิธ
อภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง เท่าที่ได้พยายามรวบรวมขึ้นมานั้น ได้มาจากคำบอกเล่าของพระอธิการทาน ขมินทกูล เจ้าอาวาสวัดฆะมัง ในขณะนั้น และนายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดาของหลวงพ่อพิธ และนายสนิท บุญปู่ ราษฎรตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร แยกออกเป็นเรื่องย่อ ๆดังนี้
อภินิหารรูปถ่ายนายเชื่อม ชาวบ้านหัวดง ได้มาที่วัดและขอบูชารูปถ่ายของหลวงพ่อพิธไปไว้บูชาที่บ้านอยู่มาวันหนึ่ง เกิดไฟไหม้บ้าน ปรากฏว่าอย่างอื่นไหม้ไฟหมดคงเหลือแต่รูปถ่ายของหลวงพ่อพิธเท่านั้นที่ไฟไม่สามารถเผาให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านได้ คงจะเป็นเพราะอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพิธอย่างแน่นอนซึ่งนับตั้งแต่นั้นมารูปถ่ายของท่านมีผู้ต้องการมากจนไม่พอจะจำหน่าย เพราะกิตติศัพท์เล่าลือในครั้งนี้หลังจากนั้นต่อมารูปถ่ายของหลวงพ่อพิธ เมื่อผู้ใดมีไว้เคารพบูชา บ้านนั้นจะไม่เกิดไฟไหม้เป็นอันขาดปัจจุบันนี้ผู้ใดมีไว้จะรักและหวงแหนอย่างมาก
ของหายก็ได้คืนพระอธิการทาน เล่าว่าประชาชนได้มาขอบูชาตะกรุดและรูปถ่ายของท่านไปประจำตัวโดยเฉพาะสมัยก่อนไม่ค่อยมีสายสร้อยขายมากมายเหมือนปัจจุบัน เมื่อประชาชนไปเที่ยวหรือไปไถนาก็นิยมพกพาเอาใส่ในกระเป๋าเสื้อ ปรากฏว่าตกหายกันเนืองๆ ตกหายแล้วผู้ที่ทำตกหายก็ยกมือบอกเล่าว่าขอให้ได้คืนเถิดปรากฏว่าหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนานิยมจุดฟางข้าวมักจะพบรูปถ่ายหรือตะกรุดของท่าน วางอยู่ในกอหญ้า โดยไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด เรื่องนี้เป็นที่เล่าลือต่อกันมารูปถ่ายของหลวงพ่อพิธนั้น ท่านจะทำเป็น ๒ หน้า ด้านแรกเป็นรูปของหลวงพ่อพิธ ด้านหลังจะมีรูปของ หลวงพ่อเงิน พระอาจารย์ของท่าน เล่ากันว่าหลวงพ่อพิธทำอะไรจะไม่ลืมหลวงพ่อเงินผู้เป็นพระอาจารย์เลยนับว่าหลวงพ่อพิธ เป็นลูกศิษย์ที่มีความเคารพนับถือ ครูบาอาจารย์อย่างยิ่งยวด
ลูกศิษย์ลองของนายสนิท บุญปู่ เล่าว่า หลังจากหลวงพ่อทำตะกรุดเสร็จแล้วหลวงพ่อก็แจกให้ลูกศิษย์คนละดอกไว้เป็นของใช้ประจำตัว เมื่อลูกศิษย์ได้ตะกรุดไปแล้ว ก็อยากจะรู้ว่าของหลวงพ่อดีอย่างไร จึงให้พวกตนมาใช้ จึงชวนกันลองตะกรุดโดยเอาตะกรุดของหลวงพ่อไปผูกคอไก่ แล้วก็เอาปืนลูกซองยิง ปรากฏว่ายิงกี่นัดก็ ไม่ดัง พวกลูกศิษย์เหล่านั้นมีความเชื่อถือหลวงพ่ออย่างมาก ปัจจุบันนี้ตะกรุดของหลวงพ่อจะหายากและราคาแพง อันเนื่องจากความคงกระพันชาตรีนี่เอง
วาจาศักดิ์สิทธิ์สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อพิธเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเงิน แห่งวัดหิรัญญาราม(วังตะโก)หรือวัดบางคลาน อำเภอโพทะเล หลวงพ่อจึงมีมนต์ขลังประดุจดังอาจารย์ของท่าน มีเรื่องเล่าว่าถ้าใครถูกหลวงพ่อพิธสาปแช่ง จะต้องเป็นไปตามคำสาปแช่งของหลวงพ่อ เรื่องนี้จึงไม่ค่อยมีใครกล้าทำให้หลวงพ่อโกรธ เพราะกลัววาจาศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
วัตถุมงคลกับอุปัทวเหตุ มีเรื่องเล่าว่าผู้ที่เดินทางเมื่อเกิดรถคว่ำหรือรถยนต์ชนกันจะแคล้วคลาดอันตรายทั้งปวง ผู้ที่มีของดีของหลวงพ่อพิธ จะไม่ได้รับอันตรายเลย บางครั้งเมื่อไปดูสถานที่ชนกันแล้ว ใครไปเห็นก็จะต้องบอกว่า ชนกันอย่างนี้ ไม่รอดแน่นอน แต่ปรากฏว่า ผู้ถูกชนไม่เป็นอะไรเลย เมื่อสอบถามแล้วปรากฏว่า ไม่มีอะไร นอกจากรูปถ่ายของท่านซึ่งทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หรือบางคน ก็มีตะกรุดของหลวงพ่อพิธเท่านั้น
#ตะกรุดคงกระพันชาตรี วันหนึ่งหลวงพ่อพิธได้สั่งให้พระใหญ่ ไปขอแรงชาวบ้านมาช่วยกันยัดแพลูกบวบเมื่อได้รับคำสั่งพระใหญ่ ก็รีบไปทันที เมื่อกลับมาหลวงพ่อถามว่าไปขอแรงได้คนมากี่คน พระใหญ่ตอบว่าได้มา ๑๕คน หลวงพ่อจึงให้นายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดาไปซื้อทองเหลือง มา ๑๘ แผ่นเมื่อได้ทองเหลืองมาแล้วก็มอบให้นายสุ่ม ลงเลขยันต์หลังจากนายสุ่มจัดการเสร็จแล้วก็มามอบให้หลวงพ่อปลุกเสกตะกรุด ทั้ง ๑๘ ดอก เมื่อชาวบ้านที่ขอแรงมายัดแพลูกบวบเสร็จแล้ว หลวงพ่อก็แจกตะกรุดไปคนละ ๑ ดอกเป็นการตอบแทนนํ้าใจ เมื่อได้รับตะกรุดทุกคนก็อยากจะลองดีของดีหลวงพ่อ ต่างก็คว้ามีดเข้าฟันกันอุตลุด คมมีดหาได้ระคายผิวหนังไม่ เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ปัจจุบันตะกรุดของหลวงพ่อหายาก เพราะทุกคนจะรักและหวงแหนประดุจชีวิต
พระลองมีดเรื่องนี้นายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดา ของหลวงพ่อพิธเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งขณะที่พระภิกษุพุธ แสงสิงข์ กำลังลับมีดอยู่นั้นพระใหญ่ จิตตระกูล เดินผ่านมาก็ถามว่ามีดที่ท่านลับนั้นคมหรือยังพระพุธ แสงสิงข์ โกรธมากหาว่าพระใหญ่ ดูถูกตนไม่มีปัญญาลับมีดให้คม แต่ก็อดใจไว้ได้แต่พอพระใหญ่เดินมาจวนถึงตัวพระพุธจึงเอามีดฟันพระใหญ่ที่น่องปรากฏว่าขนขาดหลุดหมด แต่คมมีดไม่สามารถเข้าผิวหนังของพระใหญ่ได้เลย เหตุที่ไม่เข้าเพราะพระใหญ่ จิตตระกูลมีของดีของหลวงพ่อพิธนั่นเอง
ดวงตาไม่ไหม้ไฟพระอธิการทานเล่าว่า วันฌาปนกิจศพหลวงพ่อ หลังจากเผาศพเรียบร้อยแล้ว ก็มีการเก็บอัฐิ โดยมีพระอธิการทานเป็นผู้บังสุกุลและเก็บอัฐิเอง ในขณะนั้นได้มีนายเมอะ บ้านหัวดง เข้ามาจับกระดูกของหลวงพ่อได้ชิ้นหนึ่งแล้วรีบเอาใส่ปากเคี้ยวกลืนเข้าไปทันที เพราะเกรงว่าจะถูกแย่ง ทำความตกตะลึงให้กับผู้คนจำนวนมาก ขณะนั้นพระอธิการทานได้พบดวงตาข้างหนึ่งของหลวงพ่อไม่ไหม้ไฟ จึงเก็บส่งให้นายเขียว หลังจากนั้นก็เก็บอัฐิของหลวงพ่อใส่กระบุงมาตั้งไว้ที่ร้านตักบาตร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือบรรดาศิษยานุศิษย์ ได้เก็บไว้บูชาในขณะนั้นนางพับ ได้พบดวงตาอีกข้างหนึ่งซึ่งยังไม่ไหม้ไฟ ทำความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ให้แก่ผู้พบเห็นโดยทั่วกัน จึงเป็นที่เล่าลือกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อพิธดวงตาวิเศษ”เป็นเรื่องที่แปลกที่สุดในโลก
#ดวงตาทั้งสองข้างนั้น กาลต่อมาบรรดาศิษยานุศิษย์ และบรรดาญาติตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้หล่อรูปหลวงพ่อขนาดเท่าองค์จริง และได้นำดวงตาของหลวงพ่อพิธบรรจุที่รูปหล่อด้วย
ปัจจุบันรูปหล่อเท่าตัวจริงของหลวงพ่อพิธยังคงประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดฆะมัง ถ้าท่านไปนมัสการรูปหล่อแล้วท่านจะแปลกใจอย่างมาก เพราะช่างได้หล่อได้เหมือนองค์ท่านจริงๆ เหมือนกับว่าหลวงพ่อพิธไปนั่งอยู่ แต่ดวงตานั้นเป็นดวงตาที่ใส่ใหม่ ไม่ได้เอาดวงตาของหลวงพ่อใส่ไว้กลัวคนอื่นจะมาลักไป
อภินิหารรูปหล่อหลวงพ่อรูปหล่อหลวงพ่อหลังจากได้สร้างแล้วก็ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถนานถึง๒๔ ปี บรรดาญาติโยมทั้งหลายต่างก็คิดกันว่า การเก็บไว้ในอุโบสถนั้น บางวันก็เปิดบางวันก็ปิดผู้ที่เคารพนับถือจะเข้าไปเคารพบูชาก็ยุ่งยากจึงได้ประชุมตกลงกันว่าควรจะสร้างวิหารให้อยู่ภายนอกเพื่อความสะดวกแก่ ผู้เคารพนับถือจึงได้สร้างวิหารขึ้นเมื่อได้จัดสร้างวิหารแล้วก็ได้อัญเชิญรูปหล่อของหลวงพ่อมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังจากนำรูปหล่อมาไว้ที่วิหารแล้ว มีคนกรุงเทพฯคนหนึ่งมาช่วยในงานวันนี้อยากได้รูปของหลวงพ่อจึงถ่ายรูป ปรากฏว่าจะถ่ายสักกี่ครั้งไฟแฟลตไม่ยอมติด เมื่อหันกล้องออกนอกปรากฏว่าไฟแฟลตติดเมื่อปรากฎการณ์ดัง จึงคิดว่าควรจะเป็นเพราะไม่ได้ขออนุญาตหลวงพ่อเป็นแน่แท้จึงรีบจุดธูปบอกว่าอยากได้รูปของหลวงพ่อไว้สักการบูชาหลังจากนั้นจึงถ่ายรูปได้ ย่อมแสดงว่าใครทำอะไรโดยไม่ขออนุญาตหรือบอกเล่าหลวงพ่อไม่ยอมเด็ดขาด ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพแล้วก็ตาม
#เมื่อเอ่ยถึงเครื่องรางของขลังจะมีหลายประเภทด้วยกันแต่ที่โดดเด่นนิยมกัน มาก ก็คือ “ตะกรุด” ในยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบันมีหลายอาจารย์ อาจารย์แต่ละองค์จะเก่งและมีลูกศิษย์มากมายหลายอาชีพ บางองค์มีลูกศิษย์เป็นถึงนายตำรวจใหญ่ และมหาโจรใหญ่ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดี่ยวกันต่างก็สาบานกันว่า จะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และฆ่าแกงซึ่งกันและกัน โจรบ้างคนต้องเดือดร้อนถึงหลวงพ่อต้องไปไกล่เกี่ย ให้มอบตัวและเลิกอาชีพที่ไม่ดีเสีย พระเกจิอาจารย์ที่สร้างตะกรุดและโดดเด่นมีหลายหลวงพ่อด้วยกัน เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นต้น แต่วันนี้ผมจะนำประวัติและตะกรุด พร้อมทั้งเครื่องรางของขลังของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จังหวัดพิจิตรซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ คือ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จ. พิจิตร อย่างแน่นอน มีผู้สนใจเช่าหากันมาก เรียกได้ว่ามีใบสั่งมาก แต่ของหาไม่ค่อยได้ ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้แหละ ถ้าเอาไปวางในสนามพระจะออกได้เร็วกว่าตะกรุด หลวงพ่ออื่น ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าดอกที่คนขายยืนยันว่าเป็นของวัดมะขามเฒ่า หรือหลวงพ่อเนียม หรือหลวงพ่อเดิม ข้าพเจ้าว่าถ้าผู้ขายไม่ตีราคาตะกรุดของหลวงพ่อพิธสูงจนเกินไป ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตะกรุดหลวงพ่อพิธจะขายได้ก่อนแน่นอน ถ้าราคาเท่ากันด้วยแล้วตะกรุดหลวงพ่อพิธถูกนิมนต์ไปก่อนแน่ ในสมัยก่อนย้อนไปอีก 50 ปีเศษ ๆ คอระหว่างปี พ. ศ. 2470 – 2485 ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้และมีราคาจำหน่ายเพื่อทำบุญสร้างพระอุโบสถที่วัดสามขา ถึงดอกละ 10 บาท ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระยะนั้นราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะแพงที่สุดในระยะนั้น รูปหล่อหลวงพ่อเงินราคาในท้องถิ่นไม่เกิน 10 บาทแน่ มีแต่ราคาในกรุงเทพฯ ที่พ่อค้าคนจึนในสำเพ็งซื้อเท่านั้นที่ให้ราคารพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ 10 บาท เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตรได้ เมื่อต้องการก็สั่งให้ผู้อื่นไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ 10 บาท ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะนั้นในท้องถิ่นราคา 10 บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา เรื่องตะกรุดหลวงพ่อพิธนั้นเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เชื่อถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทำตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานยืนยันไว้แน่ชัด มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันไว้ว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ หลวงพ่อพิธเรียนมาจาก หลวงพ่อเงิน ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เราสามารถแยกได้ว่า ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่ ตะกรุดหลวงพ่อพิธโดยส่วนใหญ่ในขณะนี้เช่าหากันในราคาสูงหลักพัน ดอกที่สมบูรณ์ ๆ ก็หลายพันบาท แล้วแต่ว่าจะได้มาจากแหล่งไหน
#ตะกรุดของท่านสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
1. ตะกั่วที่ใช้จารเป็นตะกั่วน้ำนม (เนื้ออ่อน)
2. ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง
3. ยันต์ที่ใช้จารเป็นยันต์คู่ชีวิต หรือยันต์อะสิสันติ เป็นหลัก
ข้อ ควรระลึกคือ ของเทียม มีมากพอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักพิจารณา สำหรับเชือกถักนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้ ของเดิมรุ่นเก่าจริงมีขนาดย่อมและถักเชือกลงรักสวยงามมาก ต่อมาได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และไม่ถักเชือก
ส่วน ยันต์ของท่าน ข้าพเจ้าได้นำมาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดท่านจะจารทั้ง 2 ด้านการสร้างประณีต ไม่สุกเอาเผากิน ยันต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏเป็นตะกรุดส่วนใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงินที่ใช้ลงตะกรุดของท่าน ตะกรุดของท่าน ตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบซึ่งจะได้กล่าวแยกไว้ต่างหากโดยเฉพาะ หลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ. ศ. 2415 มรณภาพเมื่อ พ. ศ. 2488 จากปากคำของผู้รู้เล่าว่า ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมมาเต็มที่ ในสมัยหนุ่มเมื่อได้บวชเรียนแล้วได้ไปศึกษาพุทธาคม จากแหล่งอื่นอีก เคยอยู่ที่วัดหัวคง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา (วัดนี้แหละที่ท่านตำตะกรุดให้ผู้ศรัทธาได้ทำบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ได้มาอยู่ที่วัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ) พิษณุโลก หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ทางพิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมัง เมื่อปี 2488 ดังกล่าวข้างต้น
ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก ผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีดไม่เคยระคายผิว ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้า พวกเศรษฐีมีเงินก็ทุ่มทุนซื้อตะกรุดอกนั้น เมื่อได้ราคาหลายหมื่นก็ขายเหมือนกัน เพราะทนเงินง้างไม่ไหว ยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะฯ นี้เป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล เกจิอาจารย์รุ่นเก่าทั้งภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อน้อย วัดป่ายางนอก ฯลฯ ซึ่งเกจิอาจารย์ที่กล่าวถึงนี้มีอายุอยู่ในศตวรรษก่อนทั้งสิ้น และแต่ละท่านก็มรณภาพไปอย่างน้อย 70 ปี แล้วทั้งนั้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามา แต่ละท่านใช้ยันต์นี้ลงตะกรุด บางดอกของท่าน กรณีที่เป็นตะกรุดดอกสำคัญ
ยันต์นี้ดีอย่างไร ? ในสมัยก่อนเราเรียกยันต์นี้ว่า ยันต์คู่ชีวิต คือ มีอยู่แล้วชีวิตอยู่คง เป็นยันต์ที่ได้ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยอยุธยายังรุ่งโรจน์ เป็นยันต์ ๆ หนึ่งในตำราพิชัยสงครามได้ระบุไว้ เป็นยันต์ชั้นสูงหาค่ามิได้
จากตำรา สมุดข่อยของ หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง อ. ชาติระการ จ. พิษณุโลก เขียนไว้ว่า “ยันต์นี้ลงกะตุด (ตะกรุด) ไม่ต้องเสกยิงเอาเถิด” จะเห็นได้ว่า ยันต์นี้มีอานุภาพเพียงใด ขลังเพียงใด ? คาถาที่ลงในตารางทั้งสี่มุมเขียนไว้ว่า
อะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ
การ ลงอักขระจะลงสลับไปมาในช่องต่าง ๆ ไม่ได้เรียงกันอย่างการอ่านธรรมดา คาถานี้ใช้เป็นคาถาหลักในการปลุกเสกตะกรุด ทั้งการอาราธนาใช้โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับการอาราธนาใช้ตะกรุดของท่าน
เมื่อ หลวงพ่อพิธมรณภาพ หลังจากประชุมเพลิงแล้ว มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงตาทั้งสองของท่านไฟเผาไม่ไหม้ และทางวัดฆะมังยังเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ ชาวบ้านเลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ
สมัยที่ท่านไม่มรณภาพ ท่านมีดวงตาที่ดุมากตอนนั้นเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ พอมรณภาพแล้วเลยเรียกว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ คงหมายถึงดวงตาทนต่อไฟได้นั่นเอง ปัจจุบันนี้ เรายังโชคดีที่อาจารย์องค์หนึ่งยังมีชีวิตอยู่ คือท่าน มหาลำเจียก ท่านมีศักดิ์เป็นญาติกับหลวงพ่อพิธว่าหลวงน้า อายุท่านก็เกือบ 90 ปีแล้ว ถ้าจะถามเรื่องหลวงพ่อพิธท่านให้ความกระจ่างได้ และท่านเป็นพระองค์หนึ่งที่ได้จารตะกรุดให้หลวงพ่อพิธในสมัยนั้น ยันต์ทุกตัว รวมทั้งการลงคาถากำกับ ท่านจำได้หมด แม้ว่าดวงตาจะไม่ค่อยเห็นแล้วก็ตาม จากปากคำของท่าน ท่านเป็นหนึ่งในหกของลูกศิษย์หลวงพ่อพิธ ที่เคยจาร อักขระลงตะกรุดให้หลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อพิธก็จะไปปลุกเสกกำกับเป็นครั้งสุดท้ายอีกครั้ง แต่ขณะลงผู้ลงก็เสกกำกับไว้อย่างบริบูรณ์แล้ว แต่เพื่อให้สาธุชนศรัทธายิ่งขึ้น หลวงพ่อพิธจะนำไปปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง จากการศึกษาของข้าพเจ้า ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีด้วยกันหลายแบบ (เพราะศิษย์หลายคนจารอักขระให้ต่างกัน) ดอกที่หลวงพ่อพิธจารเองด้วยมือนั้น อักขระจะอ่านค่อนข้างยากเพราะท่าน จารด้วยปราณ หมายถึง จะต้องจารอักขระให้เสร็จในอึดใจเดียว ตะกรุดดอกที่ท่านจารด้วยมือนี้ ขณะนี้ข้าพเจ้าได้มอบให้ คุณประกิจ มหาแถลง ไว้ใช้แต่ที่เราสามารถพิจารณาเป็นยันต์หลักได้ก็คือ ยันต์อะสิสัตติฯ ดังกล่าวข้างต้น
#อั่ว ก็คือ หลอดทองเหลืองที่ใช้เป็นแกนกลางของตะกรุด โดยปกติจะบัดกรี เสริมหัวท้ายด้วยลวดเพื่อให้คุ้มกันการสึกหรอของตะกรุดทั้งด้านในและด้านหัว ตะกรุด นี่คือเทคนิคประการหนึ่งในการอนุรักษ์ตะกรุดของท่านให้คงทนกว่าอาจารย์อื่น แนวความคิดนี้มิใช่หลวงพ่อพิธนำมาใช้เป็นท่านแรก ความจริงมีอาจารย์เก่า ๆ ก่อนท่านได้ใช้มาก่อนแล้ว ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า ก็สร้างในลักษณะนี้ ตะกรุดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน บางดอกก็สร้างในลักษณะนี้ แต่ทว่าไม่ได้บัดกรีเสริมลวดที่หัวท้ายเท่านั้น เมื่อท่านเห็น ตะกรุดเก่ามีแกนทองแดง หรือ ทองเหลืองอยู่ตรงกลาง แล้วข้าพเจ้าเชื่อว่า มากกว่า 95% เป็นตะกรุดทางจังหวัดพิจิตร แต่จะเป็นของอาจารย์อะไรสายไหนนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เท่าที่ได้ทราบมา ตะกรุดประเภทนี้มิได้มีเฉพาะสายหลวงพ่อเงินเท่านั้น ต้นตอมาจาอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อโพธิ์ก็มีลูกศิษย์หลายท่าน ฉะนั้นอาจารย์สายอื่นก็จะสร้างตะกรุดชนิดเดียวกันนี้ เช่นกัน จากการที่ได้มีโอกาสไปสนทนากับ หลวงพ่อเปรื่อง เจ้าอาวาสวัดบางคลานปัจจุบัน ท่านไม่เชื่อว่าหลวงพ่อเงินเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อโพธิ์ ท่านว่าหลวงพ่อโพธิ์มีอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อเงิน และเสียชีวิตอยู่องค์เดียว ไม่มีใครดูแล หลวงพ่อเปรื่องจะได้หลักฐานมาจากที่ใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่จากการศึกษาหลาย ๆ ด้านน่าเชื่อว่า หลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเงินแม้ อาจารย์เภาศกุนตะสุต ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติเถระต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังยืนยันไว้ว่า หลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เช่นกัน ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ จะมีแบบอื่นอีกหรือไม่? ขณะนี้ยังไม่ทราบได้ ต้องศึกษาต่อไปอีก เพราะของเหล่านี้ท่านก็ได้สร้างไว้นานแล้ว ระยะเวลาที่ต่างกัน ท่านอาจจะสร้างไว้ ท่านอาจจะสร้างด้วยยันต์อื่นก็ได้ นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น แต่การเล่นหาจะต้องยึดของที่เป็นมาตรฐานไว้ก่อน ดังที่ได้เรียนให้ทราบข้างต้น
กลับมาสู่เรื่อง ตะกรุดหลวงพ่อพิธ อีกครั้งท่านผู้รู้ไว้ดังนี้
#ถ้าจะปลุกเสกตะกรุดของท่านให้ครบเครื่องให้เสกดังนี้
นะโมพุทธายะฯ จะภะกะสะ สะกะภะจะฯ อิติปิโส ภะคะวาติฯ
ไตรสระณาคมฯ อะสังอิสุโลปุสะพุภะฯ อิสวาสุ สุสวาอิฯ เมตัญจะ
สัพพะโลกัสสมิงฯ อะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติฯ
เสก บทละ 108 คาบ จะสังเกตได้ประการหนึ่งว่า คาถาที่ปลุกเสกก็คือ คาถาที่ลงในตะกรุดนั่นเอง ตะกรุดเก่าผู้สร้างจะลงถมไว้ การลงถมคือการลงอักขระแล้วลบทิ้ง ลงใหม่เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง ตามตำราให้ลง 108 ครั้งคงเป็นไปได้ยาก แต่ทว่าการลงหลาย ๆ ครั้งในทางปฏิบัติอาจทำ 7 ครั้ง หรือ 9 ครั้ง ก็พอจะเป็นไปได้
การที่จะให้ลง 108 ครั้งนั้น ถ้าทำอย่างนั้นจริงเดือนที่คงลงได้ไม่กี่ดอกเท่านั้น ถ้าจะทำกันสัก 10 คงใช้เวลากันเป็นปีกว่าจะเสร็จ นอกเสียจากจะให้ลูกศิษย์หรือผู้อื่นลงให้วัตถุประสงค์ในการลงถมก็คือ การเสกซ้ำซึ่งตามตำราว่าในการลง 108 ครั้งนั้นคงจะมีสักครั้งหนึ่งหรอกที่สมาธิจิตดี มั่นคง และลงคาถากำกับได้ถูกต้อง เท่านี้ก็พอแล้วการที่กำหนดให้ลงมาก ๆ เข้าไว้คงเป็นการเผื่อไว้เท่านั้น ถ้าผู้ลงมีสมาธิจิตดีแล้ว ก็คงไม่ต้องถึง 108 ครั้ง
เป็นอย่างไรครับประวัติความเป็นมาของการสร้างตะกรุดหลวงพ่อ พิธ ท่านได้อ่านและทราบขั้นตอนการสร้างไม่ใช่ง่าย ๆ เหมือนที่ท่านคิด ตะกรุดแต่ละดอกจึงมีราคาแพงมาก ๆ มาในปัจจุบันเซียนพระทั้งใหญ่และเล็ก ห้อยสมเด็จไว้นอกเสื้อเพื่อเสนอขาย แต่เครื่องราง เช่น ตะกรุดใส่ไว้ในเสื้อเพื่อไว้ใช้ป้องกัน เสนียดจัญไร ขับไล่สิ่งอัปมงคล และขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ ทุกท่านไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไม เครื่องรางบางชนิดจึงหายากถามบางคนเขาก็ไม่บอก ฉะนั้นการที่ทุกท่านจะหาเครื่องรางของขลัง เอาไว้บูชาพกพาอาราธนาติดตัวสักหนึ่งดอก โปรดหาคนที่รู้แจ้งเห็นจริงและท่านจะไม่ผิดหวังตลอดชีวิต สวัสดีครับ
ที่มา
#ตะกรุดมหารูด หลวงพ่อพิธ
1.ใช้ในทางคงกระพันชาตรี ทางเมตตามหานิยม ค้าขาย เข้าหาเจ้านาย คลอดบุตร กันปีศาจนางไม้ กันปรอท กันไข้ป่าไข้ดง กันคุณไสยเสน่ห์ยาแฝด กันว่านยา เขี้ยวงา ตะขาบแมลงป่อง กันกระทำ กันอัคคีภัย กันอสุนีบาด โจรภัย ทุกขภัย วาตะภัยฯลฯ ทำน้ำมนต์อาบกันเสนียดจัญไร กันซวย กันตาต้อ ตาแดง ตาแฉะ ตาต้อเนื้อ กันโรคผิวหนัง กรากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคัน ฝีดาษ ประดง ฯลฯ
2.วิธีใช้ เมื่อจะสู้เขาเอาไว้ข้างหน้า เมื่อจะหนีเขาให้เอาไว้ทางหลังเขาจับไม่ทันยิงไม่ออก เมื่อจะเข้าหาขุนนางผู้ใหญ่ให้เอาไว้ข้างขวา เมื่อจะเข้าหาหญิงหรือจะให้เป็นเสน่ห์มหานิยมให้เอาไว้ข้างซ้าย เมื่อจะคลอดบุตรให้อาราธนาใส่ลงในขันน้ำมนต์ใช้กินหรือใช้อาบ แล้วเอาตะกรุดคล้องคอ จะคลอดบุตรง่าย กันปีศาจอื่นๆเข้ามา แม้แต่บุตรตายในครรภ์ก็ไม่เป็นอันตราย เมื่อกำลังอยู่ไฟก็คล้องตะกรุดเข้าไว้กันปีศาจจะได้ไม่มารบกวน เมือเดินทางไกลไปป่าดง ให้ติดตัวไปเพื่อกันอันตราย เวลาไปทำงานกันพลั้งเผลอหรืออุปัทวเหตุ เพื่อไม่ประมาท ไปจะต้องได้กลับ ถึงแม้จะไปทัพจับศึก ผู้มีตะกรุดมหารูดนี้ไป จะไม่ต้องกลัวศาสตราวุธทุกประการ และจะได้กลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนอีก ถ้าเป็นไข้ให้อาราธนาทำน้ำมนต์กิน ไข้นั้นอาจจะหายได้ เมื่อจะค้าขายให้อาราธนาทำน้ำมนต์ประพรมสิ่งของที่จะขายและคนที่ขายด้วย ของนั้นจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าได้กำไรดี ถ้าเป็นตาต้อ ตาแดง ตาลม ตาฟาง ตาแฉะ หรือเป็นแผล แมลงสัตว์กัดต่อย ให้อาราธนาตะกรุดมหารูดนี้ ใส่ในขันน้ำแล้วใส่บาดแผล หรือ หยอดก็ได้ หรือให้ท่านเลือกใช้เอาตามความปรารถนาเทอญฯ
3.วิธีอาราธนา ก่อนอื่นก่อนที่ท่านจะต้องเดินทางไปรถไฟไปเรือขึ้นเหนือล่องใต้ เข้ารณรงค์สงครามก็ให้ติดตัวไป ก่อนจะหยิบตะกรุดไปใช้ ให้นำตะกรุดขึ้นไหว้เสียก่อน แล้วก็นำตะกรุดเข้ามาไว้ในอุ้งมือพนมมือทั้งสองไว้ในระหว่างคิ้ว แล้วตั้งจิตต์อธิษฐานสำรวมจิตต์ให้เป็นสมาธินึกถึง คุณบิดา มารดา คุณครูบาอาจารย์คุณหลวงพ่อพิธ คุณหลวงพ่อเงินผู้ให้กำเนิดตะกรุดนี้ สำรวมจิตต์ไปเกาะไว้ที่ตะกรุดที่อยู่ในอุ้งมือนั้น ให้หลับตาเห็นตะกรุด แล้วใช้ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ คือ สูบลมเข้า 3 ครั้ง ลมออก 3 ครั้ง แล้วให้ว่าชุมนุมเทวดา ( สักเค 1 จบ) แล้วเจริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ พระสังฆคุณ ( อิติปิโส 1 จบ ) แล้วว่าดังต่อไปนี้ นะโมพุทธายะ นะอัดนะอุดนะหยุดนะปิด โมอัดโมอุดโมหยุดโมปิด พุทอัดพุทอุดพุทหยุดพุทปิด ธาอัดธาอุดธาหยุดธาปิด ยะอัดยะอุดยะหยุดยะปิด 3-7 คาบ แล้วว่าดังต่อไปนี้ นะบังดิน โมบังไฟ พุทขังลูก ธาอุดปากกระบอก ยะมิให้ออก อิกะวิติ 3-7 คาบ เมื่อผูกตะกรุดให้ว่า อิมังคงกะพันธะนังกะปัตถามิ ฯ เมื่อจะเดินทางไปให้ว่า พุทธรัตตะนัง ธัมมรัตตะนัง สังฆรัตตะนัง ก้าวเดินไปให้ว่า อานุภาเวนะ ฯ ไปเถิดไปแล้วท่านจะได้กลับมาบ้านเก่าอีก ถ้าทำได้ตามแบบแผนนี้แล้ว ข้าพเจ้าขอรับรองได้เลยว่า จะไม่มีอันตรายใดๆมาย่ำยีท่าน จะมีคนเมตตากรุณาตลอดทาง ไปและกลับได้
4.ข้อห้าม ตะกรุดมหารูดนี้ใช้เคียนเอว ให้เหนือสะดือขึ้นมา หรือใช้สะพายแร่ง ใช้แทนสังวาลก็ได้ หรือท่านไม่สะดวกก็ให้ท่านใส่กระเป๋าเสื้อไป ห้ามเอาไว้ต่ำกว่าสะดือลงมา เมื่อคล้องตะกรุดอยู่ห้ามรอดใต้ถุน ห้ามนั่งทับ ห้ามนอนทับ ห้ามกินของสกปรก ห้ามดูถูกดูหมิ่น ห้ามทดลองเอาตะกรุดไปคล้องคอสุนัข แมว ไก่ วัว ควาย เพราะสัตว์มันไม่รู้ภาษาจะยึดถือมั่นในของนั้นๆ ถ้าท่านนับถือ หรือปฏิบัติได้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ขอกล้ารับรองว่า ท่านจะสัมฤทธิ์ผล สมความปรารถนาของท่านโดยแท้จริง มีตะกรุดหนึ่งดอกเหมือนมีเพื่อน 10 คน ดีกว่าอย่างอื่น มีคุณภาพเหนือกว่าดีกว่าไม่ต้องใช้ปริมาณ ผู้ใดได้ไปก็เป็นโชคดีของผู้นั้น ให้ใช้เฉพาะคนคนเดียว