ประวัติหลวงพ่อดำ วัดท่าสุธาราม
หลวงพ่อดำ จันทสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าสุธาราม
วัดท่าสุธารามตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร พระอธิการดำ (หลวงพ่อดำ) จันทสโร ชื่อเดิมเดิม ดำ สมขวัญ ชาติกำเนิด เกิดที่บ้านคลองโชน (ตะโกนอก) ในขณะนั้นยังเป็น หมู่ที่ ๓ ตำบลตะโก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ผู้ให้กำเนิด นายขวัญ สมขวัญ หรือบิดาของหลวงพ่อดำ มีภรรยา ถึง ๓ คน ตามลำดับ ดังนี้
คนที่ ๑ นางหนู สมขวัญ มีลูกด้วยกัน ๑ คน คือ
-นายนุ้ยแก้ว สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
คนที่ ๒ นาวสุข สมขวัญ มีลูกด้วยกัน ๓ คน คือ
-นายบ่าว สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
-นางแดงน้อย สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
-นายดำ สมขวัญ (หลวงพ่อดำ จนทสโร)
คนที่ ๓ นางนุ้ย สมขวัญ มีลูกด้วยกัน ๔ คน คือ
-นายหีด (มอง) สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
-นางวอน สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
-นายใย สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
-นายบ่าว สมขวัญ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
หลวงพ่อดำ จันทสโร เป็นลูกคนที่ ๓ ของภรรยาคนที่ ๒ ของบิดา เด็กชายดำ สมขวัญได้ถือกำเนิดลืมตาดูโลกเมื่อ วันอังคาร เดือน ๕ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๗ เมื่อสมัยเป็นเด็กก็ซุกซน ามประสาเด็กตามท้องไร่ท้องนา แต่มีอุปนิสัยแปลกกว่าเด็กทั่วไปอยู่อย่างหนึ่งคือ ชอบในทางวิชาคาถาอาคม เมื่อเติบโตพอที่จะเข้ารับการศึกษาได้ บิดาก็นำไปฝากกับพระอาจารย์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าสุธาราม(สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประชาบาล)ท่านพยายามศึกษาเล่าเรียน ภาษาไทย จนอ่านออกเขียนได้ และสนใจศึกษาเกี่ยวกับเวทย์มนต์ ต่าง ๆ ในทางป้องกันตัว
พอเข้าสู่วัยรุ่นก็ออกจากวัดไปอยู่บ้านประกอบอาชีพทำไร่ ไถนา ช่วยเหลือดามารดา ตามประของคนชนบท เมื่อกลับไปอยู่บ้านไม่นานนักก็เบื่อความจำเจของชีวิตในบ้านเกิดเพราะท่านไม่ชอบอยู่กับที่นาน ๆ ประกอบย่างเข้าสู่วัยรุ่น เป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง เพื่อหาประสบการณ์ให้แก่ชีวิต พออายุย่างเข้า 17 ปี ท่านก็อำลาบ้านเกิด ลาบิดามารดา ออกไปเผชิญชีวิตตามลำพัง โดยได้เดินทางไปยังจังหวัดระนอง เพื่อหางานทำ (สมัยนั้นต้องเดินทางด้วยเท้า) ตามประสาคนหนุ่มคะนอง พร้อมกันนั้นก็พยายามเสาะแสวงหาอาจารย์ดีๆที่มีเวทมนต์คาถาขลังๆ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมท่านเล่าว่า ได้พบอาจารย์ที่มีขมังเวทย์วิทยาเป็นอย่างดี
ท่านจึงงมอบตนเข้าเป็นศิษย์ ศึกษา และปฏิบัติ โดยการอาบน้ำผสมสมุนไพร ศึกษาวิชาด้านการเล่นไฮโล ถั่ว โปป่น ไพ่หรือตามภาษาพูดว่า “วิชาศิลป์ทางนักเลง” (แต่มิใช่อันธพาล) ตากระนอง ท่านล่องให้ไป พังงา ภูเก็ต โดยการใช้การพนันเป็นอาชีพ อดบ้าง กินบ้าน จนบ้าง รวยบ้าง ไปตามเรื่องตามราวของวัยหนุ่ม คะนอง แต่ท่านไม่ชอบอยู่อย่างหนึ่ง คือไม่ชอบเพศตรงข้าม (ผู้หญิง) เหมือนวัยหนุ่มคนอื่นๆแม้กระนั้นก็หนีไม่พ้นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลสตัณหา ท่านเล่าว่า เคยมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงคนหนึ่งที่จังหวัดระนอง จนกระทั่งได้เสียกัน แต่มิได้อยู่ร่วมกันอย่างเปิดเผยเหมือนสามีภรรยาคู่อื่นๆ ต่อมาท่านทราบว่า ผู้หญิงคนนั้นเป็นใจและร่างกายให้กับชายอื่นอีก ด้วยความหึงหวงประกอบกับเป็นคนร้อนวิชา ท่านจึงได้ทำร้ายร่างกายผู้หญิงคนนั้น โดยการตัดนมออกเสียข้างหนึ่งแล้วท่านก็หลบหนีความผิดที่ได้กระทำขี้นไปอยู่ทีจังหวัดภูเก็ต และที่จังหวัดภูเก็ตท่านได้พบอาจารย์ที่เก่งทางคุณไสยวิทยายาสั่ง ท่านต้องการศึกษาวิชาคุณไสยกับอาจารย์ท่านนั้น แต่อาจารย์ไม่ยอมรับเพราะอาจารย์ท่านนั้นเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม แต่ท่านเป็นชาวพุทธ ผู้ที่จะเข้าเป็นศิษย์ของอาจารย์ท่านนั้น ต้องเข้าจารีตศาสนาอิสลามเสียก่อน ด้วยความอยากรู้อยากเรียรในวิชาแขนงนี้เป้นอย่างมากท่านจึงยอมเข้า จารีตประเพณีของอิสลาม โดยการเข้า “สุนัด” เมื่อเข้าสุนัดแล้วอาจารย์อิสลามจึงรับเป็นศิษย์สอนวิชาคุณไสยให้โดยมิได้ปิดบัง ท่านใช้ชีวิตร่อนเร่ไปเรี่อย ๆ บางครั้งท่านยังร่วมกับสมัคพรรพวก ข้ามแดนไปประกอบอาชีพ ถึงประเทศพม่า ท่านใช้ชีวิตวัยหนุ่ม เที่ยวไปในดินแดนตะวันตกตอนใต้ของประเทศไทย จนมีอายุได้ 22 ปีจะด้วยความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส หรือบุญบารมีทางพระพุทะศาสนา เขามาครอบครอง จิตใจ ก็มิอาจทราบได้ ่านจึงได้เดินทางจากจังหวัดภูเก็ตกลับมาจังหวัดระนอง แล้วมุ่งหน้าเข้ามาที่วัดละอุ่นเหนือ กิ่งอำเภอละอุ่น (สมัยนั้น) และเช้าบรรพชาอุปสมบทเป้นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ตั้งแต่บัดนั้น (พระอุปัชฌาย์ที่ให้การอุปสมบทท่านชื่ออะไร ข้าเจ้าจำไม่ได้เพราะท่านเล่าให้ฟังตั้งแต่ข้าพเจ้า อายะเพียง ๙ ขวบ)
ชีวิตในเพศบรรพชิต เมื่อท่านได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทะศาสนา ณ วัดละอุ่นเหนือแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน พระไตรปิฎก ปฏิบัติธรรมวินัย เพื่อความสงบแห่งจิตใจท่านเล่าว่าได้เคยเดินธุดงค์ข้ามไปยังประเทศพม่าเพื่อแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมและนมัสการพระบรมธาตุชะเวดากอง และจำพรรษาอยู่ในประเทศพม่า จนท่านพูดภาษาพม่าได้อย่างคล่องแคล่ว
เมือเดินทางกลับประเทศไทย และจำพรรษาอยู่ที่วัดละอุ่นเหนือ จนได้ 8 พรรษา ท่านได้ระลึกถึงโยมบิดา โยมมารดา ญาติพี่น้อง และบ้านเกิดเมืองนอนที่ตะโก เพราะท่านได้จากไปตั้งแต่ อายุ 17 ปีจนบรรพชา อุปสมบท แล้ว ถึง 8 พรรษา ไม่เคยย่างกรายกลับมาบ้านเลย เมื่อกลับมาถึงตะโก เยี่ยมโยมพ่อ โยมแม่ ฐาติพี่น้องพอสมควรแก่เวลา ท่านก็จะเดินทางกลับ
ไปวัดตะโกนอกเพราะขณะนั้น เป็นวัดร้างอยู่ ท่านขัดความตั้งใจจริงของโยมพ่อ โยมแม่ และพี่น้องไม่ได้จึงต้องอยู่จำพรรษา
ที่วัดตะโกนอก ตามคำขอร้อง เมื่อท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตะโกนอก ท่านก็ได้พัฒนาหมู่บ้าน และพัฒนาด้านการศึกษาของ อนุชนในหมู่บ้าน โดยการสร้างโรงเรียนประชาบาล ขึ้นที่วัดตะโกนอก (ปัจจุบัน วัดตะโกนอกเป็นวัดร้าง และโรงเรียนก็ย้ายไปสร้างที่โรงเรียนวัดผุสดีภูผาราม)ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดตะโกนอก จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะแขวง (ตำบล)ตะโก จนถึง พ.ศ. 2478 ท่านได้รับนิมนต์จากชาวบ้านท่า เพราะที่วัดท่าได้ว่างเจ้าอาวาส เนื่องจากพระอธิการพัน อินทสุวณโณ เจ้าอาวาสวัดท่ารูปเดิมได้มรณภาพลง
ท่านจึงมาจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าสุธาราม จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต เมื่อวันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗
วัดท่าสุธารามก่อนที่ท่านจะได้ติดตามประวัติชีวิต หลวงพ่อดำ จนฺทสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าสุธารรามต่อไป
ขอย้อนกล่าวประวัติความเป็นมาของวัดท่าสุธารม ตามที่พอจะสืบทราบได้เพียงน้อยนิด เสียก่อน เพื่อจะได้เชื่อมโยงกับชีวประวัติหลวงพ่อดำต่อไป
วัดท่าสุธาราม แต่ก่อนนั้น เรียกชื่อว่า ” วัดหัวท่า ” ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อนได้เคยเล่าให้ฟังว่าวัดหัวท่า เป็นท่าจอดเรือของชาวบ้านที่สัญจรไปมา หรือนำสินค้าจากต่างเมืองมาขายในละแวกบ้านท่าเพราะสมัยก่อนการคมนาคมที่สะดวกที่สุมีแต่ทางเรือเท่านั้น เนื่องจากที่วัดท่ามีลำคลองที่ใหญ่ และยาวที่สุดในตะดกไหลผ่าน คือ “คลองเพรา” เมื่อคนต่างถิ่นที่เดินทางมาบ้านท่าตะดก จะต้องมาจอดเรือที่หน้าวัดท่า(ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กยังจำได้ว่า มีเรื่อใบสามหลักมาจอดส่งสินค้าที่หน้าวัดท่า พวกทำไม้ซุงก็ใช้คลองเพราะแห่งนี้ ล่องไม้ซุงไปโรงเลื่อยปากน้ำตะโก มิใช่ตื้นเชินเหมือนทุกวันนี้ ) ต่อมาชื่อ “วัดหัวท่า”
ได้เพี้ยนไปคงเหลือแต่คำว่า “วัดท่า” และได้มาเพิ่มชื่อเป็น “วัดท่าสุธาราม” เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔วัดหัวท่า หรือวัดท่า หรือวัดท่าสุธาราม สร้างเป็นวัดขึ้นมาสมัยใดไม่มีมีใครอาจทราบได้แน่ชัด ข้าพเจ้า เคยถามคนแก่ ๆ ที่มีอายุ ๙๐ ปี ขึ้นไป ก็ไม่อาจทราบได้ รู้แต่เพียงว่าเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาก็มีวัดท่าแห่งนี้แล้ว เพียงแต่พอทราบเป็นเลา ๆ ว่าเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดท่ามีชื่อว่า”พ่อท่านปลิ้น” พื้นแพเดิมเป็นคนนครศรีธรรมราช ต่อมาจากพ่อท่านปลิ้น ก็มีเจ้าอาวาส อีกรูปหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อคุณ” เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วย ไม่ทราบว่าท่านพ่อคุณเป็นคนที่ไหน เป็นเจ้าอาวาสกี่ปี ไม่มีใครยืนยันแน่ชัด ต่อมามีเจ้าอาวาสอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า “พระครูแดง” เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านไปเสียชีวิตในทะเล เมื่อคราวเดินเข้าบางกอกโดยทางเรือ ได้ถูกพายุเรือล่ม ท่านเสียชีวิตในทะเล ชาวบ้านจึงเรียกนามท่านในสมัยต่อมาว่า “หลวงพ่อแดงตกเล”ต่อจากหลวงพ่อแดง ไม่มีเจ้าอาวาสอยู่อีก วัดท่าจึงกลายเป็นวัดร้าง ระยะหนึ่ง
จนถึงสมัยพระอธิการขำ ปุญมณี ได้มาจำพรรษาบูรณะซ่อมแซม ก่อสร้างวัดท่าขึ้นใหม่ อีกครั้ง ท่านได้สร้างศาลาธรรมขึ้น และเปิดสอนหนังสือให้แก่อนุชนในหมู่บ้านเท่าที่จำเป็นครั้งแรกนักเรียนรุ่นแรก ที่ข้าพเจ้า พอจะทราบจากการบอกเล่าของคุณพ่อ ที่ข้าพเจ้า จำได้มี นายเกตุ อารีย์ นายแดง (หมื่นรักษ์บุญร่วม) นายคลิ้ง ฐิตะฐาน (หลวงวิศลวิธีกัลป์) โดยพระอธิการขำ เป็นครูสอนเอง ต่อมามี ครูวรรณ พรหมจรรย์ เป็นครูสอนอีกคนหนึ่ง
พระอธิการขำ ปุญมณี ท่านมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการศึกษา ท่านเห็นว่าที่ดินของวัดท่ามีน้อย คงไม่เพียงพอกับการขยายการศึกษาในกว้างขวางชึ้นได้ ท่านจึงได้ไปจับจองที่ดินที่ใกล้วัดควน ไว้เป็นที่สำหรับสร้างโรงเรียนโดยเฉพาะ จำนวน ๑๐๐ ไร่ (ปัจจุบันยังเหลือเพียง ๗๓ ไร่) ท่านได้เล็งเห็นการณ์ไกลว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาจะต้องกว้างไกลขึ้น ต้องใช้สถานที่มากพอสมควร ในการที่จะขยับขยาย อาคารเรียนออกไปแต่ท่านยังไม่ทันที่จะขยับขยายอาคารเรียนใหม่ ท่านก็ได้ มรณภาพเสียก่อน ที่ดินของวัดควนเสาธง หมู่ ๙ ตำบลตะโก จึงเป็นทิ่ดินสำหรับโรงเรียนวัดท่าสุธารามมาถึงปัจจุบันนี้เมื่อ พระอธิการขำ ปุญมณี เจ้าอาวาสวัดท่าในสมัยนั้นมรณภาพลง วัดท่าจึงว่างเจ้าอาวาสอีกวาระหนึ่งชาวบ้านท่าจึงได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ พระอธิการพันอินทสุวณโณ ซึ่งจำพรรษาอยู่ทีวัดแหลมปอ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าต่อไป พระอธิการพัน อินทสุวณโณ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม เช่น ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ กุฏิ และริเริ่มสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดท่าชึ้นในที่ดินของชาวบ้านใกล้วัดทางด้านทิศใต้ ซึ่งมีจิตศรัทธา อุทิศเป็นที่สร้างอาคารเรียนโรงเรียน สร้างเสร็จ และเปิดทำการสอน เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ (ในที่ซึ่งอาคารเรียนโรงเรียนชุมชนวัดท่าสุธารามปัจจุบัน อันมีต้อนมะขามเฒ่าเป็นสัญลักษณ์ )แต่การสร้างอุโบสถของท่านยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ ท่านก็มรณภาพเสียก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗รวมระยะเวลาที่พระอธิการพัน มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่า เป็นระยะเวลา ๑๗ ปีเมื่อ พระอธิการพัน อินทสุวณโณ มรณภาพลง วัดท่าก็ว่างเจ้าอาวาสอีกครั้ง บรรดาชาวบ้านท่าจึงได้ยกขบวนกันไปนิมนต์ พระอธิการดำ จนฺทสโร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดตะโกนอกมาเป็นอาวาส ต่อไป
เมื่อท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่า ท่านก็ได้ดำเนินการสานต่อในการสร้าง อุโบสถสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ท่านได้พัฒนาวัดวาอาราม ให้มีความเจริญ รุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งทางด้านวัตถุ และพัฒนาจิตใจของชาวพุทธ ให้มีความแจ่มแจ้งขึ้น ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าท่านได้รับความเคารพนับถือจากชาวบ้านทั้งใกล้ และไกลเป็นอย่างมาก จะสังเกตได้จากเวลาที่วัดท่ามีการมีงานวัด หรืองานเทศกาลต่างๆ ประชาชน ทั้งบ้านใกล้บ้านไกลจะมาร่วมงานกันอ่างล้นหลามโดยไม่ต้องกะเกณฑ์ เพียงแต่ขอให้รู้ว่า วัดท่าจะมีงานเท่านั้น เขาจะแห่แหนกันมาช่วยเหลือทันที สำหรับตัวท่านมีสัมมาปฏิบัติที่สูงส่ง มีพร้อมทั้งเมตตา กรุณา และวางอุเบกขา เพราะบุญบารมีที่ท่านบำเพ็ญมาตลอดนี้เอง จึงทำให้ท่าน “ศักดิ์สิทธิ์” ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ โอยเฉพาะความมี “วาจาสิทธิ์” ของท่านทำให้ผู้รับฟังเคารพนับถือมาก เพราะถ้าพุดอะไรออกไป มักจะเป็นจริงตามคำพูดของท่าน ดังตัวอย่างที่จะหยิบยกมาให้ท่านรับทราบเป็นบางเรื่องดังนี้ด้านวาจาสิทธิ์
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือสงครามมหาเอเซียบูรพา ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ฝ่ายทหารญี่ปุ่นอันเป็นลูกจักรพรรดิ์หวังจะครองโลก ได้ยกพลขึ้นบกประเทศไทย เพื่อขอผ่านทัพไปตีพม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ประเทศไทยซึ่งมีกำลังน้อยจะต้านทานไม่ไหว จึงยอมเป็นพันธมิตร ฝ่ายสัมพันธมิตรตรงกันข้ามอันมีอเมริกาเป็นพี่เบิ้ม ได้ตามล้างตามผลาญทหารญี่ปุ่นไปทุกหัวระแหง โดยการทิ้งระเบิดตัดเส้นทางคมนาคม และจุดที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่น ที่ตำบลตะโก โดนทิ้งระเบิดสะพานโค้ง เมื่อ เดือน ธันวาคม ๒๔๘๘ ที่วัดท่าก็มีกองทหารญี่ปุ่นมาตั้งกองร้อยอยู่ด้วยทำให้เป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะวัดอยู่ห่างจากจุดยุทธศาสตร์ เพียง ๕๐๐ – ๖๐๐ เมตรเท่านั้น ชาวบ้านได้นิมนต์ให้หลวงพ่อหลบภัยสงครามไปอยู่ที่อื่นเสียก่อน แต่ท่านไม่ยอมไป และบอกว่า “ที่วัดท่าอย่าว่าแต่ลูกระเบิดเลย แม้แต่สะเก็ดระเบิด หรือลูกปืนจะไม่ถูกสิ่งใดให้ได้รับความเสียหาย พวกเจ้าจงหลบไปก่อนเถิด เพื่อความปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง ไม่ต้องห่วงข้า” และก็เป็นจริงอย่างที่ท่านบอก เมื่อเครื่องบินพันธมิตรมาทิ้งระเบิดสะพานโค้งรถไฟ และยิงกราดด้วยปืนกลอากาศ เพื่อฆ่าพวกทหารญี่ปุ่นสะเก็ดระเบิด หรือลูกปืนไม่เคยพลัดตกลงในวัดเลย ส่วนบ้านใกล้วัดโดนกันหมดทุกบ้าน(แม้แต่บ้านข้าพเจ้าก็ถูกสะเก็ดระเบิด และคมลูกปืนพรุนไปหมดทั้งบ้าน)เมื่อชาวบ้านได้เห็นอภินิหารเช่นนั้น เมื่อเครื่องบินมาโจมตีครั้งหกลังๆ ก็แห่กันมาหลบภัยกันอยู่ในวัดแม้แต่ทหารญี่ปุ่นเองก็แห่กันมาหลบภัยกันอยู่ในวัดเช่นกันด้านการวางเฉย หรืออุเบกขา ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่าท่านมีปฏิปทาในอุเบกขาญาณ หรือความวางเฉยในเหตุการต่างๆเกือบทกกรณี มีอยู่วันหนึ่งพระครูวิชัยธารโสภณ(สมณศักดิ์)ในสมัยนั้นซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดต้นกุล หลังสวน ได้เดินทางมาหาท่านที่วัดท่า จะเป็นเพราะเหตุใดไม่อาจทราบได้พระครูวิชัยธารโสภณ ได้ท้าหลวงพ่อให้นอนแข่งกันว่าใครจะนอนได้นานที่สุด โดยมีกติกาว่า เมื่อเริ่มนอนแล้วจะไม่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนเดินทุกอย่าง ภัตตาหารก็ไม่ต้องฉัน ถ่ายหนักหรือถ่ายเบาไม่เอาทั้งนั้นถ้าใครลุกก่อนถือเป็นแพ้ หลวงพ่อถามพระครูวิชย ว่า”ท่านจะทนได้หรือ” พระครูวิชัย ตอบว่า ” ก็ลองดูกันก่อน” หลวงพ่อจึงตอบตกลง เมื่อฉันภัตตาหารเช้าเรียบร้อยแล้วก็เริ่มนอนจะหลับหรือตื่นไม่สำคัญ ขอให้นอนอย่างเดียว ผลปรากฏออกมาว่าพระครูวิชัยธารโสภณนอนได้ ๒ วัน กับ ๑ คืนเท่านั้นก็ยอมแพ้ ส่วนหลวงพ่อนอนได้ ๓ วัน ๓ คืนโดยอาหารไม่ตกถึงท้อง ถ่ายหนักถ่ายเบาไม่ต้องถ่ายมีอยู่อย่างเดียวที่ท่านขาดไม่ได้คือ หมาก และข้าพเจ้าเป็นผู้จีบหมาก จีบพลูถวายท่านเป็นระยะ เมื่อท่านต้องการ พระครูวิชัยฯ ลุกขึ้นกราบและสารภาพว่า” กระผมยอมแพ้ครับ” หากเป็นคนธรรมดาอย่างเราท่านๆจะทำได้ไหม นอนเฉยๆ ไม่กิน ไม่ถ่าย ไม่ลุก ข้าพเจ้าเชื่อว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกปฏิบัติญาณสมาบัติคงจะทำไม่ได้ แต่หลวงพ่อทำได้ทางด้านการอยู่ยงคงกระพัน รั้งหนึ่งทางข้าราชการได้ประกาศให้ทุกคนฉีดวัคซีน ป้องกันอหิวาตกโรคเนื่องจากโรคอหิวาระบาดเกือบทั่วประเทศ แม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าก็ไม่เว้น หมอจะออกบริการฉีดวัคซีนตามที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน สถานีรถไฟ ซึ่งสมันนั้นต้องอาศัยทางรถไฟทางเดียววันนั้นข้าพเจ้าจำได้ว่า หลวงพ่อได้ไปสถานีรถไฟ เพื่อจะเดินทางไปวัดขันเงิน หลังสวน ระหว่างที่ไปรอรถไฟอยู่นั้น เจ้าหน้าที่อนามัยเขาก็บริการฉีดวัคซีนให้แก่ทุกคน ทีจะไปขึ้นรถไฟ เมื่อถึงคิวหลวงพ่อ หมอปักเข็มลงไป กดเท่าไหร่ก็ไม่เข้า จนเข็มหักหมอตกใจ แต่ยังสงสัยว่าเข็มเล่มนั้นคงจะไม่คม จึงเปลี่ยนเข็มใหม่ที่ยังไม่เคยใช้เลย ผลปรากฏว่า ปักไม่เข้าหมอยกมือไหว้แล้วถามว่า “จะทำอย่างไรหลวงพ่อ” หลวงพ่อจึงพยักหน้าแล้วบอกว่า “ฉีดเถอะ”พอหมอปักเข็มฉีดใหม่ก็ฉีดได้เหมือนบุคคลทั่วไป ตามที่เล่ามานี้พอเป็นอุทาหรณ์แห่งปาติหาริย์ของหลวงพ่อ ที่ข้าพเจ้าได้ประสบมากับตนเองและยังมีอีกหลายเรื่อง
ในปาติหารย์ของท่านแต่จะไม่เล่าในที่นี้เพราะเนื้อที่จำกัดในบั้นปลายของชีวิต ของหลวงพ่อดำ จันทสโร ท่านได้ปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่างการบริหารภายในวัด ท่านมอบให้พระปลัดสุพิย์ สิริมงคโล(สมัยนั้น) เป็นผู้บริหารรับภาระธุระในการพัฒนา ทั้งภายใน และภายนอก และหลวงพ่อดำ ท่านมีโรคประจำตัวอยู่อย่างหนึ่ง คือ โรคกระเพาะอาหาร ท่านต้องฉันภัตตาหารที่อ่อนๆ และเหลวๆอยู่เป็นประจำ เช่นข้าวต้ม ท่านเคยบอกข้าพเจ้าว่า “วิชาเกี่ยวกับมนต์คาถา หรือไสยเวทย์ อิทธิฤทธิ์อิทธิเดช ถ้าไม่จำเป็นอย่าเรียนหรือฝึกฝนเลย เพราะเป็นของร้อนทำกินไม่เกิด ดูเช่นหลวงพ่อนี้ดีแต่เป็นพระ ถ้าเป็นฆราวาส คงไม่มีหลักแหล่งจะอาศัย เพราะคนที่ศึกษาทางนี้จะเป็นคนใจร้อนมุทะลุดุดันเก่งกว่าใครเข แล้วจะเอาตัวไม่รอด” สำหรับอุปนิสัยโดยทั่วไปของหลวงพ่อดำท่านเป็นคนชอบเด็กๆโดยเฉพาะเด็กๆจะเห็นได้ว่าในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อท่านจะเรียกเด็กนักเรียนมาและแจกขนมให้ทานในตอนกลางวันเป็นประจำ สิ่งที่ท่านชอบฉันมากที่สุดคือขนมเปีย และเสียงประทัด ส่วนการละเล่นพื้นเมืองท่านชอบคือ มโนราห์ ฉะนั้นบรรดาชาวบ้านขอให้ท่านช่วยเหลือ มักถวาย ขนมเปีย และเสียงประทัด เป็นประจำตั้งแต่ท่านมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้ แม้ท่านมรณภาพไปนานแต่ดวงวิญญาณของท่านก็ยังเป็นที่พึ่งทาง ใจของพวกเราชาวตะโกและคนที่ไปสักการะ กิตติศัพท์ของทลวงพ่อได้ลือกระฉ่อนไปไกลแม้แต่เมืองฝรั่ง ยังรู้กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
ชีวประวัติของหลวงพ่อดำ จันทสโร ตามที่ข้าพเจ้าได้เก็บรวบรวมและเรียบเรียงไว้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่รุ่นต่อๆไป
ท่านผู้อ่านที่มีเกีรติทุกท่านที่ได้อ่านชีวประวัติของหลวงพ่อดำ จันทสโร ที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงไว้ทังหมดนั้น มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น(ชีวประวัติของท่านน่าศึกษาอีกมาก) เนื่องจากข้าพเจ้าได้เขียนมาจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อบวกกับความทรงจำของข้าพเจ้า ที่ได้ประสบพบเห็นได้ด้วยข้าพเจ้าเอง ในขณะที่ได้มารับใช้หลวงพ่อในชีวิตบั้นปลายของท่าน ซึ่งในขณะนั้นท่านก็ชรามากแล้ว อาจจะขาดตกบกพร่องอยู่บ้างในบางส่วน ก็ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย