พระพิราพ

พระพิราพ ในคติเดิมเรียกว่าพระไภรวะ เป็นอวตารปางดุร้ายปางหนึ่งของพระศิวะ เมื่อชาวไทยรับดุริยางคศิลป์มาจากประเทศอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย แต่เมื่อเข้ามาในไทยแล้วมีการเรียกนามพระองค์เพี้ยนไปจากเดิมเป็นพระพิราพ แล้วนับถือว่าเป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพิราพถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร และเป็นมหาเทพ (ศิวะอวตาร) แต่เนื่องจากนามของพระองค์คล้ายคลึงกับตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีลักษณะเป็นยักษ์เช่นกันคือยักษ์วิราธ และนิยมเรียกเพี้ยนเป็นยักษ์พิราพ ทำให้บรมครูสูงสุดกับตัวละครตัวนี้เกิดความสับสนปนเปกัน ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของพระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

พระพิราพ อสูรเทพ หมู่ชนชาวอินเดียเคารพกราบไหว้บูชาประทานโชคลาภ อุดมสมบูรณ์ แก่ผู้ที่เคารพบูชา แรงครู

พระพิราพ มีความหมายในตำนาน”พระพิราพ”คือ พระอิศวรอวตาร กล่าวกันว่าเป็น เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฎศิลป์ และเป็นบรมครูองค์สำคัญของกลุ่มนาฎศิลป์เคารพในฐานะบรมครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทรงฤทธิ์แรงครู การนับถือพระพิราพเป็นบรมครูสืบเนื่องประเพณีการบูชา”พระไภราวะ”ของชาวอินเดียและชาวเนปาล โดยพระไภราวะ คือภาคหนึ่งของพระอิศวรที่แสดงรูปกายออกเป็นยักษ์ทรงอิทธิฤทธิ์

ตามตำนาน ระบุว่า พระไภราวะมีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตประชาชนล้มตายเป็นอันมากขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบหนึ่งของพระอิศวร จึงได้มีการตั่งบูชาพระไภราวะแล้วโรคระบาดทั้งหลายก็ได้หายไปบังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

อย่างไรก็ตาม การนับถือพระไภราวะ จึงมีคติบูชาแล้ว ผู้นั้นปราศจากภยันอันตราย อาถรรพณ์ทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้สุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย

พระพิราพ มีลักษณะกายสีม่วงแก่ ๑ พักตร์ ๒ กร มีหอกเป็นอาวุธจึงเป็นเหตุที่ศิลปินและผู้คนเคารพบูชาเพราะมีข้อมูลว่า พระพิราพนี้ เป็นปางหนึ่งของพระอิศวร มีชื่อพ้องกันกับชื่อ”วิราวณะ”ของฮินดู อันเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ ชื่อพิราพ เป็นนามเทพเจ้าแห่งคุณงามความดี มีลักษณะ เศียรโล้น สีม่วงแก่ (พิราพเดินป่า)สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้ มาจากคำว่า”ไภราวะ”หมายถึง”ผู้เป็นใหญ่แห่งป่า” เข้าใจว่าปางดุร้ายของพระอิศวร ในคติความเชื่อของไทย

พระพิราพ เป็น”อสูร”ความจริงแล้วอสูรมิใช่ยักษ์ แต่คนไทยส่วนใหญ่มองภาพรวมว่าเป็นเช่นนั้น จริงๆแล้วแบ่งออกเป็น อสูร ยักษ์ รากษส พระพิราพ เป็นอสูรจริงแล้วเป็นเทพเจ้า คือจะมีความแตกต่างกับรากษสที่นิยมบริโภคของดิบและซากสัตว์ เมื่อเป็นเทพจึงเสวยสิ่งที่เป็นทิพย์

พระพิราพ เป็นอสูรเทพบุตร นามเทพแห่งคุณงามความดี เป็นผู้ทรงศีลที่มั่นคงในการบำเพ็ญ มีนิสัยรักและห่วงใยมวลมนุษย์ชอบช่วยเหลือไม่ว่าจะยากดีมีจนที่มาขอพรแล้วก็มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป แต่ขอให้ผู้นั้นเป็นคนดีมีศีลธรรม มีสัจจะวาจา

ตรงกันข้ามกับผู้ชอบกระทำความผิดคิดชั่ว ไม่มีศีลธรรม ไม่มีสัจจะ ไม่ละเว้นอบายมุข ท่านก็จะลงโทษ และเป็นผู้ประทานชีวิต ผู้ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งเลวร้ายทั้งปวง

อีกตำนานหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่า พระพิราพ ในประเทศไทยสับสนอยู่ว่า พระพิราพ ที่เป็นครูสูงสุดทางนาฎศิลป์ กลับไม่มีชื่อและลักษณะพ้องกับยักษ์วิราธ(พระพิราพป่า)ในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีนิสัยเกเร เป็นเทวอสูรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ลักลอบรักนางฟ้าตนหนึ่ง จึงถูกท้าวเวสสุวรรณ สาปให้เป็นยักษ์ป่าชื่อ วิราธ แปลว่า ผู้กระทำความผิดแต่มีฤทธิ์มากเพราะได้กำลังสมุทรพระเพลิง ได้พรว่าผู้ที่หลงเข้ามาในเขตสวนของตนในเชิงเขาไกรลาสสามารถถูกจับกินได้

ภายในสวนมีต้นพวงทองเป็นที่รัก ต่อมาพระราม พระลักษณ์ และนางสีดาหลงเข้ามาในสวน พวกยักษ์ต่างรุมทำร้ายแต่ถูกพระลักษณ์แผลงศรต้องยักษ์ล้มตาย ต้นไม้หักล้ม ยักษ์วิราธจึงเกิดอาการโกรธ พอเห็นพระราม พระลักษณ์ และนางสีดาเข้ามาทำร้าย จึงได้ลักพาตัวนางสีดาแล้วบันดาลให้อากาศแปรปรวนมืดมิด พระรามจึงได้แผลงศรให้สว่างพอเห็นยักษ์วิราธจึงยิงด้วยธนูสังหารต้องยักษ์วิราธล้ม

มีอีกเรื่องเล่าอีกว่าครั้งหนึ่งมียักษ์วิราธเห็นพระอินทร์เหาะผ่านมาเห็นแล้วเกิดความอิจฉาก็เลยเหาะไปต่อสู้ พระอินทร์สู้ไม่ได้จึงถูกแย่งมงกุฎ พระพิราธเอามงกุฎใส่เที่ยวเล่น กลายเป็น”พระพิราพทรงเครื่อง”บางคนกล่าวว่าเป็น”พระพิราพครองเมือง”ซึ่งเป็นการที่เรียกผิดๆ อีกประการว่า”พระพิราพบวช”นั้นเป็นเรื่องผิดเพราะในเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีตอนไหน

ทั้งนี้ ยักษ์วิราธ”พระพิราพ”ทรงพรตหรือทรงบวชจึงเป็นข้อมูลที่ผิดเพี้ยน นี่คือประวัติที่อยากจะบอกกล่าวให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป

ต่อมาได้มีการวินิจฉัยว่าเหตุใดตัวละครนี้เป็นครูสูงสุดในด้านนาฎศิลป์ คือ พระพิราพที่แท้จริงเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวรเสมือนหนึ่งว่าพระแม่กาลีเป็นปางอาวตารปางหนึ่งของพระแม่อุมา คติกับการนับถือเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับนาฎศิลป์ คำว่า พระพิราพ นั้นมาจากคำว่า”ไภราวะหรือไกรวะ”ภายหลังเพี้ยนเป็น”พระไภราพ”จนในคติพจน์ของชาวนาฎศิลป์ที่นับถือ พระพิราพก็เนื่องจากเชื่อถือว่า พระพิราพ เป็นบรมครูฝ่ายยักษ์

พระพิราพ เป็นบรมครูฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่า พระพิราพเป็นผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตา อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่ผู้พบเห็นทั้งหลาย จะบังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุกๆด้านไม่ว่าจะเรื่องของการเงิน การงาน และก่อเกิดความร่มเย็นเป็นสุขห่างไกลจากโรคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์

แม้ประสบเคราะห์หามยามร้าย หากมีพระพิราพไว้บูชาบารมีของพระองค์จะคุ้มครองให้ปลอดภัย ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ แคล้วคลาดอย่างน่าอัศจรรย์

แมันว่าบ้านใดมีผู้ป่วนเรื้อรังมานานหรือญาติเจ็บป่วยเกรงว่าจะรักษาไม่หายได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณพระบรมครูพระพิราพ จัดเทียนสักการะตั้งจิตอฐิษฐานถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพ อำนาจจากแรงครูจะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้ายทั้งหลายพินาศลง

แม้หากจะประสงค์ให้ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือจะประสงค์ในด้านการเงินมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคลาภให้จุดเทียนธูปบูชาองค์พระแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันเป็นมงคลและสมหวัง